หลังจากกระแส Metaverse เริ่มมาจริง ๆ จังจากการที่เฟซบุ๊กเปลี่ยนชื่อบริษัทแม่ของตัวเองเป็น Meta เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์บริษัทที่จะเป็นมากกว่า Social Network ทำให้ผู้เขียนเริ่มมองหาดูว่ามี Virtual Space / Object ไหนที่ดู “มีแวว” จะเติบโตไปกับเทรนด์นี้ได้มั้ย ?
ความหมายของคำว่ามีแววของผู้เขียน มีคนใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมันช่วยแก้ปัญหาบางอย่าง หรือการสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ไม่ใช่เป็นแค่การเก็งกำไรจากทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพียงอย่างเดียว และมีช่องทางในการทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถมา Commercialize ได้ในอนาคต และหนึ่งในนั้นก็คือ แพลตฟอร์ม Virtual Space ที่มีชื่อว่า Gather.town นั่นเอง
Gather.town คืออะไร ?
Gather.town คือ Virtual space แบบ 2 มิติที่จำลองออกมาในรูปแบบกราฟฟิคแบบ 8 bit โดยผู้ใช้จะสวมบทบาทเป็น Avatar เหมือนในเกมส์ ที่พ่วงความสามารถในการทำ Video Conference อย่างการ Video Call และ Virtual board ทำให้กลุ่มคนที่ใช้ Video Call ในการทำงานอยู่แล้วสามารถเข้ามาใช้ได้เลย
สิ่งที่ดีที่สุดของ Gather.town คือ การอยู่บนความพอดีของ Immersive Experience
หากเรานึกถึง แพลตฟอร์มที่มีความเป็น Immersive สูง เราคงจะนึกถึง Horizon ของ Facebook หรือ Hubs ของ Mozilla ที่เป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ในรูปแบบ Virtual Reality ที่ทำให้เราเหมือนหลุดเข้าไปในอีกโลกนึงเลยด้วยความสมจริงในการใช้งาน
แต่ข้อเสียของการมีความเป็น Immersive Experience สูงคือ หลายคนอาจจะเกิดอาการอ่อนล้าจากการใช้งาน (Virtual Fatigue) ทำให้เข้าใช้งานได้ไม่นาน หรือใช้ไม่ได้ดั่งใจ ประกอบกับต้องใช้อุปกรณ์พิเศษอย่าง Headset ในการเชื่อมต่อซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดไปโดยปริยาย
แต่ Gather ถึงแม้จะมีความเป็น Immersive น้อยลงมาหน่อย แต่สามารถเข้าใช้ผ่าน Browser ได้โดยไม่ต้องการอุปกรณ์เสริมใด ๆ แต่ยังคงเปิดพื้นที่ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ใหม่ ๆ ได้อยู่เช่น การได้ยินเสียงผู้คนเฉพาะคนใกล้ตัว การเดินสำรวจพื้นที่ และพัฒนาพื้นที่เสมือนได้ตามจินตนาการ จริง ๆ แล้วแพลตฟอร์มที่มีความคล้ายกับ Gather คือเกมส์ Animal Crossing ที่เป็นเกมส์แนว Simulation ใช้ชีวิต ที่เริ่มมีชุมชนเล็ก ๆ ในการใช้ประโยชน์ในรูปแบบเช่น จัด Conference หรือทำ Meet & Greet กับแฟนคลับ แต่ด้วยความที่ไม่ใช่ทุกคนที่มีเครื่องเล่นเกมส์ Nintendo Switch ทำให้ผู้ใช้ก็ยังคงเป็นกลุ่มผู้เล่นเกมส์อยู่
แล้วทำไมไอเดียง่าย ๆ อย่าง Gather.town เพิ่งมาบูมเอาช่วงนี้ ?
ต้องบอกว่า Gather.town แจ้งเกิดเพราะเทรนด์การทำงานที่บ้านที่เกิดขึ้นทั่วโลก (Work from Home) เลยทีเดียว เพราะอุปสรรคสำคัญของการทำงานที่บ้านคือการสื่อสาร โดยคนทำงานออฟฟิซที่ต้องทำงานร่วมกันบนพื้นที่ ๆ เดียวกันมีความพิเศษตรงที่ ทำให้เราสามารถตระหนักถึงสถานะของคนรอบตัวได้ ไม่ว่าจะเป็น เขากำลังทำงาน กำลังติดประชุม กำลังว่าง กำลังไปพัก หรือกำลังต้องการความช่วยเหลือ ยิ่งเราสื่อสารตรงนี้กันได้ดี รวดเร็วมากเท่าไหร่ ความไม่มีประสิทธิภาพจากการไม่ได้ทำงานข้าง ๆ กันจะน้อยลงไปเรื่อยและทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และแพลตฟอร์มอย่าง Gather ก็ค่อนข้างตอบโจทย์ในส่วนนั้นมากเลยทีเดียว
อีกอย่างสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้ขององค์กรคือการใช้ชีวิตร่วมกัน การเจอกันใน Gather ทำให้เรายังคง Connect กันในแบบเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันต่าง ๆ การยังได้เห็นหน้า ยังได้ยินเสียง สิ่งนี้ทำให้ Gather เป็นที่ถูกอกถูกใจ พนักงานออฟฟิซอย่างมากมาย
Gather.town ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
Gather สามารถใช้ได้หลายรูปแบบมาก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งาน Gather จะถูกใช้ไปเพื่อจุดประสงค์เหล่านี้
เป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกันแบบ Virtual Office
Gather ถูกเริ่มต้นใช้จากกลุ่มพนักงานที่ Work from home โดยทาง Gather เองได้เปิดเผยทางเว็บไซต์ว่ามีองค์กรกว่า 10,000 องค์กรในตอนนี้ ที่ใช้ Gather เพื่อให้รองรับนโยบาย Work from anywhere policy โดยใน Gather ทำให้พนักงานสามารถจัดประชุม เบรนสตอร์ม และแชร์เอกสารระหว่างกันได้ผ่านการ Private Virtual Office ส่วนตัว
เป็นพื้นที่ Gathering หรือจัดอีเว้นท์กัน ในหลาย ๆ รูปแบบ
Gather เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานสัมนา Business Conference การจัด In-house Training หรือ Team building ก็ย่อมได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเร็ว ๆ นี้ ก็คืองาน Blockchain Thailand Genesis 2021 ของไทยที่จัดผ่าน Gather ในรูปแบบงานแฟร์ที่แต่ละบริษัทก็จะเปิด Virtual Booth ของตัวเอง และคนในงานก็สามารถเดินดูเยื่ยมชม และถามคำถามได้เหมือนตอนไปงานแฟร์จริง ๆ อีกทั้งผู้จัดยังสามารถสอดแทรกกิจกรรมอื่น ๆ ได้เช่นกิจกรรมเสวนาบนเวทีกลาง
หรืออีกตัวอย่างนึงจากทางบริษัท GetLink คือการทำ Virtual Job Fair ที่ ๆ รวบรวมบริษัทด้านเทคโนโลยีกว่า 100 บริษัท พร้อมกิจกรรมมากมายสำหรับผู้สมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นคลีนิก Resume, Workshop ไปจนถึง Walk-in Interview
ทั้งนี้หากต้องการจัดงานที่เป็น Private Space สามารถตั้งค่าใน Gather ให้การใส่รหัสผ่านก่อนเข้างาน ทั้งยังเชื่อมกับ Google Calendar เพื่อทำ invitation ได้อีกด้วย
เป็นพื้นที่ Creative Space สำหรับศิลปินและนักออกแบบ
เนื่องจากอย่างที่บอกไปว่า Gather.town ค่อนข้างเปิดกว้างให้ผู้ใช้งานสร้างสรรค์ Space ของตัวเอง จึงมีคนอีกกลุ่มนึงที่อยากใช้พื้นที่ตรงนี้แสดงความสามารถทางศิลปะของตัวเอง อย่าง G-World ที่เนรมิตโลกแฟนตาซีออกมาให้ผู้ชมได้เข้าสำรวจและชื่นชมงานศิลปะภายใน และงานนิทรรศการศิลปะ The Absolute Paradox ของ Toxiphilia ที่มาในธีมบ้านผีสิงไทย ต้องบอกเลยว่าอยากแนะนำให้ไปดูเอง แล้วจะพบว่า Gather.town มันช่วยสร้างประสบการณ์การชมศิลปะได้ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยทีเดียว
จะเริ่มใช้ Gather.town ได้อย่างไร ?
หากมือใหม่ ที่อยากจะลองเริ่มใช้งาน Gather.town บ้าง ทางเราขอแนะนำ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่ทำให้คุณเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนกับเพื่อนได้
1. สมัครเข้าใช้งาน และเริ่มสร้าง Space ของตัวเอง
เมื่อสมัครเข้าใช้งานแล้ว Gather.town จะพาเราเข้าไปหน้า Profile ของเราที่จะรวบรวม Space ที่เราเคยเข้าร่วม แต่สำหรับคนที่สมัครใช้ครั้งแรก ส่วนนี้จะไม่มีให้เริ่มสร้าง Space ของตัวเองได้เลย สำหรับใครที่กังวลว่า ตัวเองไม่มีความสามารถทางศิลปะใด ๆ เลยก็ไม่ต้องกังวลเพราะทาง Gather.town มี Template เตรียมให้เลือกใช้มากมาย แต่สำหรับใครที่อยากลองสร้างใหม่เองทั้งหมดเลย ก็สามารถเลือก Start from blank ซึ่งสำหรับการออกแบบ Space ทาง Gather เองได้มีแนะนำไว้ที่ Space Design Best Practice
เมื่อเลือก Space ที่ถูกใจได้แล้ว ก็ตั้งค่ารายละเอียดต่าง ๆ เช่นชื่อห้อง รหัสผ่านเข้าห้อง และประเภทการใช้งาน สำหรับกรณีที่จะทำ Virtual Office ตัว Gather ก็จะถามว่า ให้มีพื้นที่ Out door ด้วยมั้ย (เป็นจุดที่คนในออฟฟิศชอบมาก แนะนำให้ลองใส่เข้ามาดู)
2. ปรับแต่ง Avatar ของตัวเองให้สวยหล่อ เท่ พร้อมเช็คความเรียบร้อยก่อนเปิดตัว
ก่อนที่จะไปเยื่ยมชม Space ของตัวเองได้ ต้องไม่ลืมที่จะหน้าตาทำผมก่อนเข้าใช้สถานที่ โดยการปรับแต่ง Avatar จะทำออกมาให้เหมือนกับตอนที่เราเล่นเกมส์สมัยเด็ก ทำให้ปรับแต่งได้ง่าย เช่นการเลือกใส่หมวก เลือกเสื้อ เลือกสีผมเป็นต้น
3. สำรวจพื้นที่ และของเล่นที่ Gather.town เตรียมไว้ให้เรา
เมื่อเข้ามาครั้งแรก ทางเราขอแนะนำให้ลองสำรวจพื้นที่ ลองเล่นกับสิ่งต่างที่ Gather.town เตรียมไว้ให้เรา อย่างเช่น shared whiteboard ที่เปิดโอกาสให้เราและเพื่อนได้ลองวาด ๆ เขียน ๆ ร่วมกัน หรือจะใช้จดสรุปการประชุมก็ได้นะ และอย่าลืมออกไปนั่งชมวิวที่ทะเลด้วยนะ
4. ชวนเพื่อนมาร่วมสนุก
หลังจากลองสำรวจพื้นที่คนเดียวจนเบื่อแล้ว ลองชวนเพื่อนเข้ามาใน Gather.town ด้วยไม่ว่าจะเป็นการส่งลิ้งค์ให้ หรือเชิญเพื่อนผ่านทาง Email
5. ออกทัวร์ Space เพื่อนบ้าน
สุดท้ายแล้ว ถ้าเบื่อทำงานแล้ว ลองออกไปทัวร์ Space เพื่อนบ้านกันมั้ย เหมือนการออกไปนัดเจอเพื่อนนอกสถานที่นั่นล่ะ ตัว Gather เองก็มี Public Space ที่ให้คนทั่วไปได้เข้าเยื่ยมชม หรือเข้าทำกิจกรรมได้ หากยังไม่รู้ว่าจะลองใช้ Space ไหน ลองเปิด Tab Explore ดู จะมี Space ขึ้นชื่อ ที่ชาว Gather.town ต้องเข้าไปเยื่ยมชมสักครั้งให้ได้เลยล่ะ
Gather.town ฟรีมั้ย ?
Gather ใช้งานได้ Free Plan ตราบใด จำนวนคนใช้ต่อครั้งไม่เกิน 25 คน โดยค่าบริการหากต้องการใช้งานพร้อมกันมากกว่า 25 คน ราคาจะคิดเป็นรายคน อยู่ที่คนละประมาณ 7$ ต่อเดือน โดยพ่วงมากับความสามารถในการทำ Email Guest List ได้
ซึ่งใน Free Plan มีฟีเจอร์การใช้งานเทียบเท่าของ Premium Plan ต่างกันแค่จำนวน Concurrent user ในแต่ละครั้ง แอบกระซิบว่าสำหรับกลุ่มสถาบันการศึกษา หรือ NGO เขามีราคาพิเศษให้ด้วยนะ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ Gather.town/pricing
กรณีศึกษาการใช้ Gather.town ในต่างประเทศ
สำหรับส่วนนี้ผู้เขียนจะพานำชมกรณีศึกษาการใช้ Gather ในต่างประเทศซึ่งในแต่ละกรณีศึกษาจะทำให้เห็นว่า แพลตฟอร์ม Gather ค่อนข้างเปิดกว้างในการนำไปใช้
ใช้ Gather.town เป็น Brand Space ผ่าน Coca-Cola Wonderful Island โดย Coca-Cola ประเทศเกาหลี
Coca-Cola ประเทศเกาหลีได้เลือกใช้ Gather.town ในการบอกเล่าเรื่องราวตัวเอง ผ่านนิทรรศการเสมือนจริง ที่ผู้เข้าชม สามารถไปเดินสำรวจ และชื่นชมกับรายละเอียดของตัวแบรนด์ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากเดินอ่าน เดินสำรวจพื้นที่อย่างเดียวมันน่าเบื่อ ในนี้จึงมีเกมส์ Quiz ให้เราตอบคำถาม โดยเราจะต้องอ่านคำถาม แล้วเลือกคำตอบผ่านการเดินเข้าไปในอุโมงค์ ถ้าหากตอบถูกจะได้เข้าไปเจอคำถามต่อไป หากตอบผิดจะโดนเตะออกมาข้างนอก สำหรับ Coca-Cola Wonderful Island นอกจากจะมีความสวยงามในการออกแบบ Space แล้ว ยังได้ Brand awareness อีกด้วย
เยื่ยมชม Coca-Cola Wonderful Island ผ่าน Gather.town
ใช้ Gather.town สร้างเป็นเกมส์แนว Escape Survivals ที่แปลงมาจาก ซีรี่ย์ Wheel of Time ที่ฉายใน Amazon Prime
สำหรับแฟนคลับซีรี่ย์ Wheel of Time ที่ดัดแปลงมาจากนิยายชื่อเดียวของ Robert Jordan ย่อมต้องรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก หากตัวเองได้สามารถเข้าไปอยู่ในโลกของเวทมนต์ได้เหมือนในหนัง
ใน Space นี้จะให้ผู้เข้าร่วมได้เล่นกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่การล่าสมบัติ สำรวจพื้นที่จริง หา Easter Egg ที่ปรากฏอยู่ในหนัง และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดโดยทีมงานผู้จัดทำซีรี่ย์ Wheel of Time เอง ความน่าสนใจของ Space นี้คือ การใช้ Object หลากหลายรูปแบบ เพื่อซ่อนคำใบ้ไว้สำหรับเล่นเกมส์ ตั้งแต่ตาแก่ NPC ที่จะให้คำใบ้กับเราได้ กล่องสมบัติ และอื่น ๆ ซึ่งหากได้ลองเล่นกับเพื่อนแล้วรับรองว่าสนุกจนลืมเวลาไปเลยล่ะ
เยื่ยมชม Wheel of Time ผ่าน Gather.town
ใช้ Gather.town จัด MetaSoul 2021 x AI Network โดย AI Community ประเทศเกาหลี
สำหรับคนที่สนใจจัด Gather Community หรือ Business Conference ทางเราขอแนะนำ MetaSoul 2021 x AI Network ซึ่งเป็นงาน Conference สำหรับผู้ที่สนใจการใช้ AI ในเชิงธุรกิจ ภายในงานมีตั้งแต่การจัดเวทีกลาง, ห้องทำ Workshop ไปจนถึง Booth เปิดรับสมัครงาน ! โดยปกติ Space แบบนี้จะปิดเป็น Private แต่ทางเจ้าของ Space ใจดีเปิดให้คนทั่วไปเข้าได้ฟรี เผื่อจะมีไอเดียไปจัดของตัวเองต่อ
เยื่ยมชม งาน MetaSoul 2021 x AI Network ผ่าน Gather.town
ใช้ Gather.town จัดนิทรรศการ The End of Life โดย Noble Studio
Noble Studio เป็น Creative Agency ที่สนใจเรื่องการสร้างบทสนทนาเชิงบวกเกี่ยวกับความตาย และการตาย ผ่านการสร้างนิทรรศการที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ดู ฟัง ถกเถียงเกี่ยวกับความตาย ผ่านเกมส์ และกิจกรรมต่าง ๆ
ความพิเศษของนิทรรศการนี้คือการออกแบบให้พร้อมใช้งานในทาง Commercial ได้เต็มรูปแบบ ตั้งแต่การมี Booking form หากต้องการนำชมโดยมีผู้นำชม และกิจกรรมพิเศษที่สามารถจองผ่าน Event Brite ได้จากใน Gather ได้เลย ไปจนถึงการออกแบบ Space ให้เข้ากับบรรยากาศในเรื่องความตายได้เป็นอย่างดี หลายคนอาจจะคิดว่า การคุยเรื่องความตายเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่ทาง Noble Studio ทำให้เรื่องนี้น่าสนใจมากขึ้น ผ่านการสร้างกิจกรรม
อย่างมีกิจกรรมนึงชื่อว่า Death in Film กิจกรรมที่ชวนสนทนาเรื่องความตาย โดยการดึงฉากสำคัญในภาพยนต์เป็นตัวเปิดบทสนทนา หรือแม้แต่ Death Dish ที่ออกแบบให้เป็นแผนที่โลกที่เราสามารถไปสำรวจ อาหารมื้อสุดท้าย ของแต่ละจุดในแผนที่โลกได้
เยื่ยมชม The End of Life ผ่าน Gather.town
ข้อจำกัดของการใช้ Gather.town ในเชิงธุรกิจ
แม้ว่าแพลตฟอร์มอย่าง Gather จะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ต้องบอกว่า หากแบรนด์ หรือองค์กรไหน จะเริ่มหันมาใช้ Gather แบบจริง ๆ จัง ๆ อาจจะต้องพิจารณาข้อจำกัด 3 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
1. Gather.town ยังไม่รองรับการทำ Automation หรือ Bot ใน Space
หนึ่งในความคิดแวบแรกของคนที่ใช้งาน Gather คือการอยากจะสร้าง NPC หรือ Bot สำหรับรับรองผู้เข้าชม ไม่ว่าจะเป็นการพาทัวร์ การแนะนำการใช้งาน การตอบคำถาม และประโยชน์อื่น ๆ สารพัดที่จะทำให้ไม่ต้องมีคนคอยเฝ้าสเปซตลอดเวลา ลองนึกภาพดูสิว่า คุณสามารถเปิดนิทรรศการศิลปะด้วยตัวเองคนเดียว โดยมี NPC คอยจองตั๋ว พาชมงาน และสร้างความบันเทิงให้กับผู้คน แต่น่าเสียดายที่ระบบตอนนี้ รองรับแค่การวาง Object ง่าย ๆ เท่านั้น
2. Gather.town ยังไม่รองรับ In Space Analytics
ข้อจำกัดที่น่าเสียดายที่สุดของ Gather ในตอนนี้คือตัวแพลตฟอร์มยังไม่รองรับ Virtual Space Analytics ที่จะทำให้ผู้จัดสามารถนำสถิติการใช้งานต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนา Space ของตัวเองต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ Peak Hour (ช่วงที่มี Traffic เยอะเป็นพิเศษ) หรือแม้แต่ Heat map analytics วิเคราะห์ส่วนที่ผู้ชมให้ความสนใจที่สุดใน Space นี้เป็นต้น แต่ผู้จัดอาจจะทำ Data touchpoint ในรูปแบบอื่นก็ได้ เช่นการทำกระดานแสดงความคิดเห็น หรือแม้แต่การทำ Link Tracking กรณีที่มีการใส่ลิ้งค์เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องไว้
3. การใช้งาน Gather.town ผ่าน Mobile ยังไม่น่าประทับใจเท่าที่ควร
จากประสบการณ์ที่ได้เคยลองใช้ Gather ผ่าน Smart phone พบว่าค่อนข้างใช้งานยาก ตั้งแต่การเดินสำรวจท้องที่ ไปจนถึงการใช้งานสิ่งของต่างใน Space ที่ยังไม่รองรับเท่าการใช้งานผ่าน Desktop แต่ในส่วนนี้ก็กำลังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาดีขึ้น
เรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน Gather Community
สำหรับใครที่อ่านแล้วรู้สึกว่าอยากจะลองเข้าไปสร้าง Space ใน Gather แต่ไม่ค่อยมั่นใจ ทางเราขอแนะนำให้ Join กลุ่มเฟสบุ๊ค Gather Town Thailand Community โดยในกลุ่มนอกจากจะเป็นการสอบถาม ปัญหาการใช้งานแล้ว ยังมีคนคอยช่วยแนะนำทริคดี ๆ ในการสร้าง Space ของตัวเองอีกด้วย รวมถึง Official Guide จากทาง Gather.town เอง
เห็นแบบนี้แล้ว แล้วคุณล่ะ
มีไอเดียที่อยากจะสร้าง Virtual Space แบบไหน ?
มีคำถามสงสัยเพิ่มเติม ?
หากคุณสนใจเกี่ยวกับเรื่องที่เราเขียน สิ่งที่เราทำ และโครงการที่เราตั้งใจจะดำเนินงานในอนาคต คุณสามารถติดต่อพูดคุยกับเราได้
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
ถาม – ตอบสั้น ๆ กับ Datayolk
Gather.town คือ Virtual space แบบ 2 มิติที่จำลองออกมาในรูปแบบกราฟฟิคแบบ 8 bit โดยผู้ใช้จะสวมบทบาทเป็น Avatar เหมือนในเกมส์ ที่พ่วงความสามารถในการทำ Video Conference อย่างการ Video Call และ Virtual board ทำให้กลุ่มคนที่ใช้ Video Call ในการทำงานอยู่แล้วสามารถเข้ามาใช้ได้เลย
Gather ใช้งานได้ Free Plan ตราบใด จำนวนคนใช้ต่อครั้งไม่เกิน 25 คน โดยค่าบริการหากต้องการใช้งานพร้อมกันมากกว่า 25 คน ราคาจะคิดเป็นรายคน อยู่ที่คนละประมาณ 7$ ต่อเดือน โดยพ่วงมากับความสามารถในการทำ Email Guest List ได้
Gather เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานสัมนา Business Conference การจัด In-house Training หรือ Team building ก็ย่อมได้
Gather.town ยังไม่รองรับการเข้าใช้งานในโทรศัพท์เท่าที่ควร ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการจะเข้าใช้ผ่านโทรศัพท์ก็มีน้อยลงตามไปด้วย