จะเริ่มโปรเจค IT ในองค์กรตัวเองยังไง ?
คำถามนี้ คงเป็นคำถามของผู้บริหาร หรือ ผู้จัดการแผนก หรือแม้แต่พนักงานทั่วไปที่อาจจะเห็นปัญหา เห็นความเฉื่อยชาในองค์กร แล้วเกิดไอเดียอยากจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นด้วยเทคโนโลยี
ในขณะเดียวกัน หลาย ๆ องค์กรเริ่มที่จะ “Digitized” ตัวเองกันมากขึ้น ด้วยการทำ Digital Transformation เพื่อขยายศักยภาพในการแข่งขันของตัวเอง โดยกระบวนการ Digital Transformation คือกระบวนการที่นำเอา Technology มาเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในทุกภาคส่วนขององค์กร เป็นภาพใหญ่ที่สุดของการแก้ปัญหาขององค์กรด้วยเทคโนโลยีที่ผู้บริหารหลาย ๆ คนวาดฝันไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ด้วย AppSheet
สนใจเรียน AppSheet กับเรา ?
ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ AppSheet ด้วยตัวเอง เพียงแค่เรียนคอร์ส AppSheet Intensive Course ผ่าน Facebook Group กับเรา พร้อมให้คำปรึกษาหลังเรียน
สามอุปสรรคสำคัญในการทำ Digital Transformation คืออะไร ?
โดยส่วนใหญ่แล้วอุปสรรคสำคัญในการทำ Digital Transformation หรือแม้แต่โปรเจค IT ในองค์กรคือ
- ขาดการวางแผนที่ดี
- ขาดการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี
- ขาดบุคลากรที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะนักพัฒนาซอฟแวร์
ปัญหาในเรื่องขาดการวางแผนที่ดีของแต่ละองค์กรก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่ปัญหาทางเทคนิคสองอย่างที่เหลือ เราสามารถลดค่าใช้จ่าย และเริ่มลงมือทำได้ง่าย ๆ ด้วย Low code development platform ที่ชื่อว่า AppSheet
Low code development platform คืออะไร ?
Low code development platform คือเครื่องมือในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นในรูปแบบ Drag & Drop โดยผู้ใช้งานยังอาจจะต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีในระดับพื้นฐานอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้ว ทำให้ “นักพัฒนาจำเป็น” หรือ คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้าน IT ที่จำเป็นต้องพัฒนาแอปพลิเคชั่นใช้เอง (ในบางบริษัทจะเรียกว่าพนักงานเหล่านี้ว่า Power user) ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาองค์กรตัวเองได้
นอกจากนี้ Low code development platform ยังใช้เวลาในการพัฒนาไม่นาน (เมื่อเทียบกับการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ด้วยการเขียนโปรแกรมโดยนักพัฒนาซอฟแวร์ ) และยังมีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนแก้ไขซึ่ง สอดคล้องกับโปรเจคเทคโนโลยีที่ต้องมีการพัฒนาจากการทดลองใช้งานของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Low code development platform ได้ที่บทความ รู้จัก Low-Code เครื่องมือช่วยสร้าง Application ต้นทุนต่ำสำหรับองค์กรรุ่นใหม่
AppSheet คืออะไร ?
AppSheet คือเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Mobile Application สำหรับใช้ในองค์กรโดยแทบไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานได้เทียบเท่าซอฟแวร์สำนักงานพวก Enterprise Resource Planning (ERP) ตั้งแต่การทำเอกสาร การทำบัญชี การทำระบบจองห้องประชุม การเก็บข้อมูลความพึงพอใจพนักงาน การตรวจวัดสต็อกสินค้า การติดตามยอดขายของฝ่ายแผนกการตลาด โดยสามารถเปิดใช้งานผ่าน Web Browser ได้ทั้งในสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
ความพิเศษของ AppSheet อีกอย่างนึงคือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างฐานข้อมูลโดยใช้ Spread Sheet (เช่น Google Sheet หรือ Airtable) ได้ ซึ่งแตกต่างจากการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบเดิม ที่ต้องสร้างฐานข้อมูลเฉพาะ
โดย AppSheet บอก Vision ของตัวเองง่าย ๆ ว่า
เราพัฒนา AppSheet เพื่อให้ใครก็ได้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นใช้เองในองค์กร โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคโนโลยี
AppSheet
ที่ Vision ของ AppSheet เป็นแบบนี้เพราะ มีหลาย ๆ องค์กรที่ใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อปรับปรุงการทำงานของตัวเอง แต่ก็ยังมีอีกหลายองค์กรที่พบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบเดิม (code based programming app) นั้นมีราคาสูง ซับซ้อน และใช้เวลานาน ทำให้มีแต่บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น ที่สามารถทำโปรเจค IT ดี ๆ ได้ ทางทีม AppSheet เลยเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้ที่เป็นพนักงานบริษัทสามารถสร้าง Business application ในองค์กรของตัวเองได้
ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาโดย AppSheet
ในกรณีตัวอย่างนี้ ผู้เขียนได้ทดลองจัดทำแอปพลิเคชั่น สำหรับติดตามการทำงานของพนักงานทำความสะอาดในอาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง (ชื่อ และรายละเอียดในแอปพลิเคชั่น ถูกจำลองขึ้นมา ไม่ได้อ้างอิงถึงองค์กร หรือบุคคลใด ๆ ในชีวิตจริง)
โดยแอปพลิเคชั่นนี้ เข้ามาแก้ปัญหาการสื่อสาร และการรายงานของแผนกทำความสะอาดในอาคารพาณิชย์ ที่ต้องมีการตรวจเช็คความสะอาดรอบเช้า รอบบ่าย และแจ้งซ่อมให้กับทีมช่างเทคนิค
ปัญหาที่ผู้เขียนสนใจเข้าไปแก้ในกรณีนี้คือ ความซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงานดั้งเดิม ที่ต้องกรอกรายละเอียดลงกระดาษ (Paper process) และไปคีย์ข้อมูลหลังหมดวันเพื่อทำรายงานประจำเดือน หรือแจ้งช่างเทคนิคเข้ามาซ่อม (ดังในรูปแผนภาพ Business process)
ผู้เขียนพบว่าขั้นตอนการทำเอกสารรายงาน เพื่อแจ้งซ่อมใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ตั้งแต่พนักงานเจอความเสียหายที่ต้องซ่อม กรอกรายละเอียด หัวหน้าแจ้งรายละเอียดกับช่างซ่อม จนช่างซ่อมรับเรื่องสำเร็จ
ยังไม่รวมถึงเวลาเฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (1 วันทำงาน) ในการคีย์ข้อมูลจากกระดาษ และทำรายงานส่งบริษัทต้นสังกัด
จากการทดลองใช้แอปพลิเคชั่น เราสามารถลดเวลาในการแจ้งซ่อมทำความสะอาดเหลือ 4 ชั่วโมงต่อครั้งด้วยการทำระบบแจ้งเตือนแจ้งซ่อม ที่ทางทีมช่างเทคนิค หัวหน้าพนักงาน และพนักงานทำความสะอาดจะเห็นข้อมูลตรงกันทั้งหมด (Real-time collaboration) ไม่มีการส่งเอกสารไปมา (Decrease paper process) โดยหลักฐานทุกอย่างจะอยู่บน Spreadsheet ที่สามารถตั้งเวลาให้ทุก ๆ สิ้นเดือน ส่งรายงานไปหาบริษัทต้นสังกัดผ่านทางอีเมล์อัตโนมัติ (Email automation)
ดูผลงานอื่น ๆ ของเราได้ที่ AppSheet Portfolio
AppSheet ทำอะไรได้บ้าง ?
โดยทั่ว ๆ ไป AppSheet สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับบันทึกข้อมูลโดยรองรับข้อมูลได้หลายแบบ เช่นข้อมูลพิกัด location, ภาพถ่าย, ลายเซ็น, เวลาปัจจุบัน, บาร์โค้ด, QRcode, Barcode, RFID และอื่น ๆ
รองรับการทำ Automation เบื้องต้น เช่น การส่งอีเมล ,สร้างไฟล์เอกสารอัตโนมัติ หรือแม้แต่การแจ้งเตือนผ่าน Line
นอกจากนี้หากติดตั้งผ่าน AppSheet Engine จะทำให้สามารถ รองรับการใช้งานแบบออฟไลน์แคละ ส่ง Push Notification ผ่านสมาร์ทโฟน (เป็นแพคเกจ Pro Plan ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ AppSheet Pricing
ท้ายที่สุดสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการทำ Dashboard หรือรายงานประจำเดือน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อ Google Sheet เข้ากับ Google Data studio หรือโปรแกรมอื่น ๆ เพื่อทำรายงานได้
ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่สามารถทำใน AppSheet ได้เช่น
- ระบบเก็บข้อมูลลูกค้า
- ระบบจัดการห้องพัก
- ระบบเก็บข้อมูล และทำรายงานยอดขาย
- ระบบจัดการเอกสารออนไลน์ หรือ E-Document
- ระบบบริหารสต็อก
- ระบบเบิกพัสดุ และอุปกรณ์
- ระบบตรวจสอบเครื่องจักร
- ระบบติดตามการขนส่งสินค้า
- ระบบแจ้งปัญหา IT
- ระบบ ERP
ดูตัวอย่างไอเดียทำแอปพลิเคชั่นใน AppSheet ในบทความ 10 ไอเดีย หัดทำแอปพลิเคชั่นด้วย AppSheet (จากง่ายไปยาก)
AppSheet เหมาะกับงานแบบไหน ?
ในความเป็นจริง AppSheet สามารถใช้สร้างแอปพลิเคชั่นที่ทำงานได้หลากหลาย แต่คุณประโยชน์หลักที่สรุปมาจากประสบการณ์ผู้เขียนในการทำแอปพลิเคชั่นให้องค์กรมีดังนี้
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารด้วย (Real-time collaboration)
จากประสบการณ์ของผู้เขียน AppSheet เหมาะกับการใช้งานที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง ทีมงานที่อยู่หน้างาน (ทีมขาย ทีมลงพื้นที่ หรือฝ่ายบริการลูกค้า) กับทีมที่ทำงานเบื้องหลัง (ทีมการตลาด ทีมช่างเทคนิค เป็นต้น) ที่ปกติมักจะสื่อสาร หรือส่งงานกับผ่าน Messenger App เช่น Line (ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องความเป็นกำกวมในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลในภายหลัง)
โดยเราสามารถใช้ AppSheet เพื่อติดตามการทำงานแบบ Real-time โดยที่ทุกคนเห็นข้อมูลตรงกันได้ผ่านสมาร์ทโฟน
อีกกรณีศึกษานึงที่น่าสนใจคือ มีบริษัทขนส่งที่นึงใช้ AppSheet เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นติดตามการทำงานของพนักงานขนส่งในระบบ (ในบริษัทนี้มีพนักงานขนส่งเกือบ 100 คน) โดยพนักงานขนส่งสามารถรายงานสถานะการส่งต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน และหัวหน้างานก็สามารถดูรายงานผ่าน Dashboard ที่ห้องประชุมได้เลย
2. ลดข้อผิดพลาด และการทุจริตที่เกิดจากพนักงาน (Human error and fraud prevention)
AppSheet ไม่ต่างอะไรกับการคีย์ข้อมูลผ่าน Spread Sheet แต่ AppSheet สามารถคีย์ข้อมูลออนไลน์ได้ และมีช่องให้กรอก แบบ Application แทนที่จะเป็นตาราง Spread Sheet เฉย ๆ
หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกของการใช้ Spread Sheet ในอดีตคือการกรอกข้อมูลผิด ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปหากใช้ AppSheet ที่สามารถทำช่องให้กรอก โดยตรวจเช็คความถูกต้องก่อนบันทึกได้ เช่นกรอกอีเมล์ต้องมี @gmail.com หรือกรอกบัตรประชาชนต้องมีเลข 13 หลัก
อีกความพิเศษนึงคือ AppSheet ยังมีช่องให้กรอกแบบ Auto complete เช่น เวลาที่บันทึก สถานที่ที่บันทึก ลายเซ็นของผู้บันทึก ทำให้ลดการทุจริตได้จากการไม่สามารถปลอมแปลงข้อมูลเหล่านี้ และ Feature Autocomplete ยังทำให้พนักงานไม่ต้องเสียเวลาบันทึกข้อมูลมากเกินจำเป็นอีกด้วย
3. ลดงานซ้ำซ้อน (Duplicate work) และการใช้กระดาษ (Paper process)
เมื่อบันทึกข้อมูลใน AppSheet แล้ว ข้อมูลที่บันทึกสามารถปริ้นออกมาเป็นรายงาน, ทำออกมาเป็นกราฟ หรือแม้แต่ส่งเป็นอีเมลอัตโนมัติทุก ๆ สิ้นเดือนก็ยังได้ เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยลดงานซ้ำซ้อนบางอย่าง ที่ในอดีตต้องมาทำซ้ำ
ลองนึกภาพการทำงานรูปแบบเดิม ๆ ที่ทุก ๆ สิ้นเดือน ทุก ๆ แผนกจะต้องใช้เวลาช่วงเย็นเพื่อทำรายงานส่ง จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราสามารถทำระบบรายงานอัตโนมัติแทน โดยที่ทุกคนจะไม่ต้องเสียเวลามาจะทำเอกสารใหม่ทุก ๆ เดือน
การทำเอกสารแบบชิ้นต่อชิ้นนี้ยังหมายถึง เอกสารคำสั่งซื้อ (Purchasing order) และเอกสารเสนอราคา (Quotation) อีกด้วย ที่ AppSheet สามารถสร้างเอกสารนี้ให้อัตโนมัติ
นอกจากนี้แล้ว AppSheet ยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานได้หลากหลายดังที่มีกรณีศึกษาจากบริษัทมากมาย อ่านกรณีศึกษาการนำ AppSheet ไปใช้ในบริษัทได้ที่บทความ 3 กรณีศึกษาการใช้ AppSheet ในบริษัทพร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
ข้อจำกัดของ AppSheet
แม้ว่า AppSheet จะมีข้อดีมากมาย แต่หากต้องการนำ AppSheet ไปใช้ควรคำนึงถึงข้อจำกัดเหล่านี้
1. AppSheet ไม่เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชั่นที่เป็น Public Application
ระบบ AppSheet ยังไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับ In-App purchase, ระบบการจัดการสิทธิการเข้าถึงที่ซับซ้อน และ โทนของ User Interface ก็ไม่ได้มีให้เลือกหลากหลาย จึงทำให้ AppSheet ไม่เหมาะกับการใช้พัฒนา Application ให้คนทั่ว ๆ ไปใช้ แต่เหมาะแก่พัฒนาเพื่อใช้งานในองค์กรซะมากกว่า
2. AppSheet ไม่รองรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบ No SQL
ระบบ AppSheet รองรับการใช้ Spread Sheet เป็นฐานข้อมูล หรือจะใช้ฐานข้อมูล SQL ที่มีอยู่ในบริษัทก็ได้ แต่ในปัจจุบัน AppSheet ยังไม่รองรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบ No SQL ซึ่งอาจจะใช้ในงานที่ซับซ้อนมาก ๆ
3. AppSheet ไม่เหมาะกับการสร้าง Application ที่ซับซ้อน ที่มีการใช้ Third party API
ระบบ AppSheet ในปัจจุบันยังไม่รองรับการเชื่อมต่อ Third party API เพื่อใช้บริการของนักพัฒนา เช่นการดึงข้อมูลมากจากที่อื่น หรือระบบสั่งซื้อของเป็นต้น
แต่ถ้าหากเชื่อมต่อกับบริการอื่นจริง ๆ จะใช้ผ่าน Zapier
4. AppSheet ใช้ Spreadsheet ในการเก็บข้อมูลทำให้มีข้อจำกัดในการสเกลระบบ
เคยสงสัยมั้ยว่า ถ้า Spreadsheet อย่าง Google Sheet, Airtable หรือ Excel สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลได้ ทำไมเรายังจ้องใช้ Database อยู่ล่ะ ? เพราะ Database มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า ทั้งเรื่องความเร็ว ความเสถียร และการรองรับความสัมพันธ์ข้อมูลที่ซับซ้อนได้
ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียน เมื่อเราใช้ AppSheet ไปสักพัก เริ่มมีข้อมูลในระบบมากขึ้น ระบบเราจะเริ่มช้า และกรณีที่มีหลาย ๆ Table ก็จะยิ่งช้าเข้าไปใหญ่ ซึ่งทำให้ไม่เหมาะกับการทำแอปพลิเคชั่นให้คนทั่วไปใช้
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดทางเทคนิคอื่น ๆ อีกอ่านต่อได้ในบทความ รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการพัฒนา AppSheet ที่หลายคนสงสัย อัพเดตล่าสุด
สนใจให้ทีม Datayolk ทำ / แก้ไข AppSheet ให้ ?
ด้วยประสบการณ์การทำ Application ด้วย AppSheet กว่า 3 ปี
เราสามารถช่วยให้คุณมี Application ไว้ใช้ได้ในต้นทุนที่ต่ำ
AppSheet มีค่าใช้จ่ายยังไงบ้าง ?
สำหรับ Basic Features (รองรับการทำแอปพลิเคชั่นบันทึกข้อมูลง่าย ๆ) ผู้พัฒนาสามารถใช้งานได้ฟรี (เป็นเวอร์ชั่น Prototype) ตราบใดที่มีผู้ใช้งานไม่เกิน 10 Account (รวมตัวผู้พัฒนาเองด้วย)
หากอยากใช้ Advance Features (การทำระบบอัตโนมัติ การเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น) หรือมีผู้ใช้มากกว่า 10 คน จะเสียค่าบริการ คิดเป็นต่อคน คนละ 5$ ต่อเดือน
นอกจากนี้หากคุณผู้อ่านอยากทำแอปพลิเคชั่นให้คนทั่วไปใช้ (รองรับผู้ใช้งานได้ไม่จำกัด) ทาง AppSheet ยังมี Publisher Pro Plan ในราคา 50$ ต่อเดือนต่อแอปพลิเคชั่น แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถตั้งค่าจำกัดสิทธิการใช้งานได้ ซึ่งทำให้ไม่เหมาะกับการทำแอปพลิเคชั่นที่มีการใช้ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่เป็นความลับ
พิเศษ หากคุณใช้ Google Workspace ในองค์กรอยู่แล้ว คุณและองค์กรสามารถใช้ AppSheet Core Plan ได้ฟรี !
อ่านรายละเอียดของ AppSheet License ที่แถมมากับ Google Workspace ได้ที่นี่
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ AppSheet Pricing
ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชั่นด้วย AppSheet ?
ถึงแม้เราจะมีเครื่องมือดี ๆ อย่าง AppSheet แต่การวางแผน และลงมือทำอย่างถูกต้องจะช่วยให้โปรเจค IT ของเราสามารถประสบความสำเร็จได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มจากงานเล็ก ๆ ที่เป็นปัญหา
ว่ากันว่า คนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง การจะชักชวนให้คนในองค์กรมาใช้แอปพลิเคชั่นก็เหมือนกัน ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะดีกว่า แต่บางองค์กรก็ยังไม่พร้อมจะออกมาจากความเคยชินเดิม ๆ หากไม่เห็นประโยชน์ที่มากพอ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการยอมรับในการใช้แอปพลิเคชั่น หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราในฐานะผู้พัฒนาควรเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ ปัญหาง่าย ๆ หรืออาจจะเป็นปัญหาที่เห็น ๆ กันอยู่ ที่สามารถทำได้เร็ว ๆ ไม่ต้องขออนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง เพื่อเมื่อเวลาทดลองทำแอปพลิเคชั่นมาใช้แล้ว คนในองค์กรได้เห็นภาพประโยชน์ของการใช้งานได้ง่าย
เมื่อมีคนยอมรับมากขึ้น การทำแอปพลิเคชั่นครั้งต่อไปจะง่าย แถมดีไม่ดี อาจจะมีคนมาช่วยพัฒนาแอปพลิเคชั่นกับคุณด้วยก็ได้
หากยังคิดไม่ออก ลองมาดู 10 ไอเดีย หัดทำแอปพลิเคชั่นด้วย AppSheet (จากง่ายไปยาก) ที่เราได้แนะนำไว้
2. ศึกษา และร่างแผนภาพ Business process
เมื่อเราได้โจทย์ที่สนใจจะแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีแล้ว การทำแผนภาพ Business process จะช่วยให้ผู้พัฒนาตอบคำถามกับหัวหน้า หรือตัวเองได้ว่า ตัวแอปพลิเคชั่นจะถูกใช้มาเพื่อแก้ปัญหาอะไร นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยให้เราระบุฟีเจอร์การใช้งานได้ง่ายขึ้น
โดยการจัดแผนภาพของ Business process ที่ดี ต้องสื่อสารว่า
- กระบวนการทำงานมีอะไรบ้าง ? (Process)
- มีใครเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้บ้าง ? (Steakholder)
- มีจุดไหนที่ต้องมีการเก็บข้อมูล หรือใช้ข้อมูล ? (Data touchpoint)
- มีจุดไหนที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้แอปพลิเคชั่น ? (Problem)
- รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น สถานที่ ระยะเวลาในการทำงาน (Context)
หากปัญหาที่เราพยายามแก้ไขด้วยเทคโนโลยี ไม่ใช่ปัญหาของแผนกเราโดยตรง จะเป็นไปได้ยากมาก ที่เราจะสามารถเขียนแผนภาพ Business process ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเพื่อให้แผนภาพนี้สมบูรณ์ เราต้องออกไปรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
3. คุยเรื่องไอเดียกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
ก่อนที่จะทำแอปพลิเคชั่น ลองเอาไอเดียนี้ ไปคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Steakholder) เพื่อหยั่งเสียงดูก่อนว่า
แอปพลิเคชั่นนี้เป็นการเพิ่มงานให้ใครรึป่าว ?
แอปพลิเคชั่นนี้จะทำให้ใครบางคนเสียผลประโยชน์มั้ย ?
แอปพลิเคชั่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อใคร ?
หากไม่สามารถไกล่เกลี่ยผลประโยชน์กับทุกฝ่ายได้ ๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่แอปพลิเคชั่นจะไม่ถูกนำมาใช้ ด้วยเหตุผลทางการเมืองในบริษัทนั่นเอง
ในการพูดคุยกับผู้ใช้ เราอาจจะลองเอา Sample App ไปให้ผู้ใช้ดูด้วยก็ได้
4. ดูตัวอย่างแอปพลิเคชั่น Sample App เพื่อดูความเป็นไปได้ในการพัฒนา
ข้อดีของ AppSheet อีกข้อนึงคือ การมีตัวอย่าง Application ที่เรียกว่า Sample App จากหลากหลายอุตสาหกรรม ให้เราลองเล่น ลองนำเสนอกับผู้ใช้งาน โดยยังไม่ต้องเริ่มพัฒนาแอปพลิเคชั่น
โดยส่วนใหญ่แล้ว สำหรับคนที่ไม่ได้มีประสบการณ์การพัฒนาแอปพลิคเคชั่นก็จะเป็นกังวลว่า ไอเดียที่อยากทำสามารถทำได้ใน AppSheet รึป่าว?
คำแนะนำของผู้เขียนคือให้ลองเขียน Feature ทั้งหมด แล้วลองดูตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่มี Feature ใกล้เคียงกับเรา ใน Sample App
5. เริ่มทดลองทำแอปพลิเคชั่นด้วย AppSheet
ในการเริ่มพัฒนาแอปพลิเคชั่น ผู้พัฒนาสามารถอ่านเอกสารการพัฒนาง่าย ๆ ที่ How to create an app
ข้อแนะนำคือให้ค่อย ๆ พัฒนาทีละฟีเจอร์แล้วรีบไปให้ผู้ใช้ลองใช้งาน เพื่อดูว่าแอปพลิเคชั่นของเราเข้ากับบริบทการใช้งานของผู้ใช้แค่ไหน
หากอ่านวิธีการสร้างแอปพลิเคชั่น จากเอกสารพัฒนาแล้วยังงง ผู้เขียนแนะนำวิธีการง่ายดังนี้
- สร้าง Spread Sheet ด้วย Google Sheet และระบุช่องที่ต้องการให้ผู้ใช้กรอกลงไป
- สมัครเข้าใช้ AppSheet และนำเข้า Spread Sheet จากขั้นตอนที่ 1 เข้ามาเป็นฐานข้อมูล
- เมื่อเข้าใช้งาน AppSheet ระบบจะให้เราตั้งค่าโครงสร้างของข้อมูลใน Spread Sheet อีกที ผ่าน Data Tab
- เมื่อตั้งค่าข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะอนุญาตให้เราปรับแต่งหน้าตาของแอปพลิเคชั่น ผ่าน UX Tab
- ปรับแต่งเรื่องอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
6. ชวนผู้ใช้มาให้ฟีดแบคการใช้งาน
หลังจากพัฒนาแอปพลิเคชั่นตัวต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ให้เวลา 2 สัปดาห์ในการให้ผู้ใช้กลุ่มเล็ก ๆ สัก 5 – 10 คน ลองใช้งาน และติดตามฟีดแบคจากการสอบถาม (ว่าเขารู้สึกยังไงกับการใช้แอปพลิเคชั่น) และการเข้าไปดูข้อมูลในระบบ (ว่ามีคนใช้งานจริงมั้ย) ในส่วนนี้จะช่วยให้เราสามารถพัฒนาแอพลิเคชั่นในขั้นต่อไปได้ง่ายขึ้น และเห็นปัญหาได้เร็วกว่า การพัฒนาทีเดียวทั้งระบบ
7. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้ยังคงใช้อย่างสม่ำเสมอ
หากผู้ใช้ได้เริ่มใช้งานแล้ว แน่นอนว่าผู้ใช้จะเริ่มเรียกร้องให้ทำฟีเจอร์โน่นนี่เพิ่ม ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการยอมรับแอปพลิเคชั่นของเรา ฉะนั้นจงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ชวนคนมาใช้เพิ่มขึ้นไปอีก ๆ (หากพบปัญหาในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ให้เข้าไปดูแนวทางการแก้ไขที่ AppSheet Help Center
เป็นยังไงกันบ้าง หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้บริหาร หรือพนักงานในองค์กรได้เครื่องมือดี ๆ ที่ช่วยพัฒนาองค์กรของตัวเองขึ้นได้ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการเขียนโค้ดมากนักนะครับ
ขอบคุณแหล่งอ้างอิง:
รู้หรือไม่
AppSheet มีกลุ่มผู้พัฒนาคนไทยใน Facebook Group แล้วนะ หากคุณผู้อ่านพัฒนา AppSheet แล้วติดปัญหา สามารถสอบถามในกลุ่ม แชร์ความรู้การใช้งาน AppSheet by Datayolk.net ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวบรวมนักพัฒนา AppSheet ในเมืองไทยเพื่อสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน AppSheet และแบ่งปันเทคนิคในการสร้างแอปพลิเคชั่น
ถาม – ตอบสั้น ๆ กับ Datayolk
AppSheet คือเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Mobile Application สำหรับใช้ในองค์กรโดยแทบไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานได้เทียบเท่าซอฟแวร์สำนักงานพวก Enterprise Resource Planning (ERP) ตั้งแต่การทำเอกสาร การทำบัญชี การทำระบบจองห้องประชุม การเก็บข้อมูลความพึงพอใจพนักงาน การตรวจวัดสต็อกสินค้า การติดตามยอดขายของฝ่ายแผนกการตลาด โดยสามารถเปิดใช้งานผ่าน Web Browser ได้ทั้งในสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
โดยทั่ว ๆ ไป AppSheet สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นสำหรับบันทึกข้อมูลโดยรองรับข้อมูลได้หลายแบบ เช่นข้อมูลพิกัด location, ภาพถ่าย, ลายเซ็น, เวลาปัจจุบัน, บาร์โค้ด, QRcode, Barcode, RFID และอื่น ๆ
AppSheet เหมาะกับงานภายในองค์กร ที่ต้องมีการสื่อสารกันระหว่างแผนก หรือระหว่างคนในแผนก นอกจากนี้ AppSheet ยังเหมาะกับการทำงานที่มีรูปแบบซ้ำ ๆ ด้วยการสร้างระบบอัตโนมัติ (Automate task) อีกด้วย
AppSheet ไม่เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชั่นให้คนทั่วไปใช้ เพราะไม่สามารถปรับแต่งรูปลักษณ์ของแอปพลิเคชั่นได้เต็มที่ รวมถึงไม่รองรับการใช้งานที่ซับซ้อน เช่นระบบจ่ายเงิน หรือระบบกำหนดสิทธิการเข้าถึง
AppSheet สามารถใช้ได้ไม่จำกัดผู้ใช้งาน ใน Pro Plan โดยมีค่าบริการอยู่ที่ 5$ ต่อ Account ต่อเดือน แต่ในกรณีที่อยากทดสอบการใช้งานใน Prototype Plan สามารถใช้งานได้ฟรีไม่เกิน 10 Account รวม Account ของเจ้าของแอปพลิเคชั่นนั้นด้วย
AppSheet สามารถพัฒนา และใช้งานได้ฟรีใน Prototype Plan ที่รองรับฟีเจอร์เบื้องต้น ตราบใดที่มีผู้ใช้งานไม่เกิน 10 Account (รวมตัวผู้พัฒนาเองด้วย) แต่หากต้องการใช้ Advance Features (การทำระบบอัตโนมัติ การเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น) หรือมีผู้ใช้มากกว่า 10 คน จะเสียค่าบริการ คิดเป็นต่อคน คนละ 5$ ต่อเดือน
สามารถดูตัวอย่างแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาด้วย AppSheet ได้ที่ Copy & Customize Sample Business Apps (appsheet.com)
AppSheet มีกลุ่มผู้พัฒนาคนไทยใน Facebook Group หากคุณผู้อ่านพัฒนา AppSheet แล้วติดปัญหา หรืออยากเรียนรู้เพิ่มเติมเชิงลึก สามารถสอบถามในกลุ่ม AppSheet Thailand Community ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวบรวมนักพัฒนา AppSheet ในเมืองไทยเพื่อสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน AppSheet และแบ่งปันเทคนิคในการสร้างแอปพลิเคชั่น